วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบทดสอบ


1.ลักษณะการเต้นแบบไจฟว์มีกี่เเบบ
   ก.2แบบ
   ข.3แบบ
   ค.4แบบ
   ง.5แบบ

2.จังหวะแบบไจฟว์มีกี่จังหวะใน1ห้องเพลง
   ก.3/2จังหวะ
   ข.2จังหวะ
   ค.3จังหวะ
   ง.4จังหวะ

3.ข้อใดไม่ใช่ประโยชน์แท้จริงของการเคหพยาบาล
   ก.ช่วยดูแลผู้ป่วยพักฟื้น
   ข.ช่วยรักษาสุขภาพจิตผู้ป่วย
   ค.ลดอันตรายเนื่องจากอุบัติเหตุ
   ง.ให้หายขาดทันที

4.ข้อใดเป็นอาการของคนเริ่มป่วย
   ก.ยิ้มแย้มแจ่มใส
   ข.ขำไม่มีสาเหตุ
   ค.ไอ จาม ตัวร้อน
   ง.ร่าเริง

5.ข้อใดไม่ควรทำเมื่อมีผู้ป่วยที่บ้าน
   ก.ใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน
   ข.นอนแยกห้อง
   ค.ล้างมือก่อน-หลังพยาบาลผู้ป่วย
   ง.วัดปรอท จับชีพจร

วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Jive or Rock n Roll


ประวัติความเป็นมาของจังหวะ Jive or Rock n Roll


ไจฟว์ เป็นจังหวะเต้นรำประเภทละตินอเมริกันที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ ลินดี้ (LINDY)
อเมริกัน สวิง (AMERICAN SWING) หรือ ร็อค (ROCK) และจิตเตอร์บัค (JITTER BUG) เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะรู้จักและเรียกจังหวะไจฟว์กันในนามว่า “ ร็อค ”หรือ “ ไจฟว์ร็อค ”จังหวะไจฟว์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่าจะมีรูปแบบดังที่ เห็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ กำเนิดของไจฟว์มีพัฒนาการมาจากจังหวัด จิตเตอร์บัค บูกี้ – วูกี้ (BOOGIE- WOOGIE) และแจ๊ส (JAZZ) โดยเริ่มในสมัยค้าทาสชาวนิโกรอัฟริกันในอเมริกาเหนือซึ่งมีหลายเผ่า ได้พยายามรวบรวมจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี การดนตรีการเต้นรำ และการรื่นเริงต่าง ๆ
ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในด้านการดนตรีนั้นได้มีการนำดนตรีดั้งเดิมของชาวนิโกรมาดัดแปลง
ให้เป็นจังหวะที่เร่งเร้า ระทึกใจ เรียกดนตรีประเภทใหม่นี้ว่า “ นิโกร แจ๊ส ”และดนตรีใหม่นี้ก็ได้รับ
ความนิยมแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแจ๊สนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นจังหวะบลูส์และวัน – สเต็ป 
(BLUES AND ONE-STEP) และได้พัฒนามาเป็นจังหวะเต้นรำที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันว่า ฟอกซ์ทร็อต

การเต้นรำในจังหวะที่แต่เดิมเรียกว่า จิตเตอร์บัค ซึ่งหมายถึง แมลงเล็ก ๆ ที่มีอาการแตกตื่น ชุลมุน วุ่นวาย นั้นก็เนื่องจากท่วงทำนองเพลงที่เร้าระทึกใจ ได้กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครงไปด้วยการเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง การเหวี่ยงโยน และปลดปล่อยอารมณ์อย่างเต็มที่ เมื่อมองดูแล้วจะเหมือนอาการ
ตื่นตระหนกของพวกแมลงเล็ก ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว ต่อมามิสเตอร์อเล็กซ์ มัวร์ (MR. ALEX MOORE) กับเมอร์ซิเออร์ปิแอร์ (MONSIEUR PIERRE) และมิสโจเซฟิน แบรดเลย์ (MISS JOSEPHINE BRADLEY)ได้ร่วมกันปรับปรุงการเต้นที่ไม่เรียบร้อย ให้ดูสุภาพเหมาะสม นุ่มนวลและสวยงาม ลีลาการเต้นถูกต้องตามหลักวิชาและลดความรุนแรง เร่งเร้าของการเต้นให้ลดน้อยลงจนในที่สุดได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของลีลาศมาตรฐานหนึ่งในห้าของการ ลีลาศแบบละตินอเมริกัน และเรียกชื่อจังหวะที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ว่า “ ไจฟว์ ” 
จากการปรับปรุงการเต้นดังกล่าวทำให้เกิดความแตกต่างในการเต้นออกเป็นรูปแบบ คือ
1.  BOOGIE-WOOGIE หรือ SINGLE RHYTHM หรือ ร็อค 4



2.  JITTERBUG หรือ DOUBLE RHYTHM หรือ ร็อค 6




3.  JIVE หรือ TRIPLE RHYTHM หรือ ร็อค 8 




ในปัจจุบันการเต้นไจฟว์แบบ TRIPLE RHYTHM หรือ ร็อค 8 ได้รับความนิยมมากกว่าแบบอื่นทั้งยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตรฐานและ จัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ

ดนตรีและการนับจังหวะดนตรีของจังหวะไจฟว์เป็นแบบ 4/4 คือ มี 4จังหวะใน 1 ห้องเพลง 
ดนตรีจะมีเสียงเน้นหนักในจังหวะที่ 2 และ 4 ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม แต๊ก ตุ่ม ดังอยู่ตลอดเพลง
การเต้นไจฟว์ในแบบ TRIPLE RHYTHM มี 8 ก้าว การนับจังหวะจะเป็นแบบ 1,2,3-4-5,6-7-8 หรือ 1,2,3 และ 4,3 และ 4 หรือ เร็วเร็วเร็วและเร็วเร็วและเร็ว ก็ได้ โดยที่ก้าวที่ 1,2 และ 4 มีค่าเท่ากับก้าวละ 1 จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4 จังหวะส่วนก้าวที่เรียก “ และ ” มีค่าเท่ากับ 1/4 จังหวะ 

ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 40 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 50 ห้องเพลงต่อนาที) 

การจับคู่
การจับคู่ในจังหวะไจฟว์จะเป็นแบบปิดของละตินอเมริกันโดยทั่วไป แต่คอนข้างหลวมและจะพบการจับคู่แบบอื่น ๆเมื่อเต้นลวดลายต่าง ๆ โดยเฉพาะการจับแบบเปิดจะพบบ่อยที่สุด การจับแบบเปิดคือการจับด้วยมือข้างเดียว ผู้ชายเอามือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิงเอาไว้ ลำตัวยืนห่างกันในระยะที่ต่างคนต่างเหยียดแขนได้พองาม ส่วนมือข้างที่เป็นอิสระยกขึ้นไว้ข้าง ๆ งอแขนเล็กน้อย


         
การนำ
การนำในการเต้นไจฟว์นั้นผู้ชายต้องใช้มือทั้งสองข้างช่วยในการนำคู่ลีลาศไป ในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงต้องตอบสนองต่อแรงผลักดันจากมือของผู้ชาย เพื่อให้มีแรงส่งและแรงปะทะไว้บ้าง 
มิฉะนั้นในบางลวดลายจะหมุนตัวไม่ได้เลย เช่น ลวดลายอเมริกัน สปิน เป็นต้น


การใช้เท้า
การก้าวเท้าในทุก ๆ ก้าวจะให้ฝ่าเท้าถึงพื้นก่อน ส่วนส้นเท้ายกพ้นพื้นเล็กน้อย บางก้าวก็มีการดส้นเท้าราบลง บางก้าวก็ไม่มีการราบเท้าลง น้ำหนักตัวค่อนไปข้างหน้าเข่างอเล็กน้อยตามธรรมชาติ การเคลื่อนไหวสะโพกก็เช่นเดียวกันต้องให้เป็นธรรมชาติโดยเฉพาะการทำแชสเซ่ไปข้างๆ 



การทำแชสเซ่ 
แชสเซ่เป็นกลุ่มของการเต้นที่มี 3 ก้าว ซึ่งอาจเป็นการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ข้างหลัง ทางซ้ายหรือทางขวาก็ได้ จะหมุนตัวไปทางซ้ายหรือทางขวาหรือไม่หมุนเลยก็ได้ ถ้าเป็นการทำแชสเซ่ไปข้างหน้า โดยที่มีการไขว้และล็อค ขาข้างที่จะล็อคเข้ามานั้นจะต้องยกส้นเท้าพ้นพื้นและเข่าต้องชิดเท้าไปกับ ข้อพับของเข่าอีกข้างหนึ่งถ้าเป็นการทำแชสเซ่ไปข้างหลัง โดยที่มีการไขว้และล็อค ส้นเท้าของเท้าที่ถอยเป็นก้าวแรกจะต้องยกพ้นพื้น และเข่าของข้างที่ไขว้เข้ามาต้องชิดเข่าของขาหลัง

ลวดลายการเต้นของจังหวะไจฟว์ที่จัดอยู่ในขั้นมูลฐานและเป็นที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป คือ
1. เบสิค มูฟเม้นท์
2. เบสิค มูฟเม้นท์ อิน ฟอลล์อะเวย์ (BASIC MOVEMENT IN FALLAWAY)
3. ลิงค์ (LINK)
4. วิป (WHIP)
5. เซนจ์ ออฟ เพลซ ไรท์ ทู เลฟท์ (CHANGE OF PLACES RIGHT TO LEFT)
6. เซนจ์ ออฟ เพลซ เลฟท์ ทู ไรท์ (CHANGE OF PLACES LEFT TO RIGHT)
7. เซนจ์ ออฟ แฮนด์ บีฮาย แบค (CHANGE OF HAND BEHIND BACK)
8. อเมริกัน สปิน (AMERICAN S PIN)
9. สตอป แอนด์ โก (STOP AND GO) 

ตัวอย่าง




ตัวอย่างการแข่งขัน


การเคหพยาบาล



การเคหพยาบาล หมายถึง การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวเมื่อมี การเจ็บป่วยหรือในระยะฟักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยและบรรเทาความทุกข์ทรมาน
ประโยชน์ของการเคหพยาบาล
1. ช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านหลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับมาฟักฟื้นที่บ้านได้ ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย
2. ช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้ป่วยและของทุกคนในครอบครัว และลดความวิตกกังวลทางสภาพจิตใจเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยได้เพราะสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด
3. ลดอันตรายเนื่องจากอุบัติเหตุภายในบ้าน โดยการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นและสามารถปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้
4. ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่รอคอยการรักษาให้มีจำนวนน้อยลง

การสังเกตอาการผู้ป่วยโดยทั่วไป
ผู้ที่พยาบาลผู้ป่วยในบ้านควรสนใจสุขภาพของทุกคนในครอบครัวฃองตน และเข้าใจอาการเปลี่ยนแปลงที่แสดงว่ามีการเจ็บป่วยขึ้น อาการที่เจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค ดังนั้น ผู้ที่พยาบาลจะต้องระ จักสังเกตอาการของผู้ป่วยและสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ความผิดปกติที่จะสังเกตได้ มีดังนี้
1.             ใบหน้า อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1.1 ใบหน้ามีลักษณะแดง ซีด ขาว
1.2 ตามีลักษณะแดง เหลือง น้ำตาไหล ซึม มัว ใสผิดปกติ มีอาการระคายเคืองต่อแสงสว่าง
1.3 จมูกมีน้ำมูกไหล เลือดออก เป็นแผล เจ็บ หายใจไม่ออก
1.4 หูมีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองไหล ปวด บวม แดง
1.5 ปากแห้ง แตก ลิ้นเป็นฝ้า ไอเจ็บคอ ภายใต้คอแดงหรือเป็นฝ้า

2. หน้าอกมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจขัด แรงเร็ว บางรายอาจถึงชัก หรือมีอาการปวดเจ็บภายในบริเวณอก


3. ท้อง มีอาการท้องขึ้น อืด เฟ้อ ท้องผูก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร


4. กล้ามเนื้อ มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ


5. ผิวหนัง มีอาการบวม แดง ซีด มีเม็ดหรือผื่นขึ้น ผิวหนังอาจร้อนหรือเย็นกว่าปกติ เมื่อเอามือไปสัมผัส


6. อารมณ์ มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย หากเป็นเด็กจะร้องกวนบ่อย


การพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน
โดยทั่วไปบุคคลส่วนใหญ่เมื่อเกิดเจ็บป่วยเรื้อรังมักต้องการรักษาตัวที่บ้านมากกว่าไปอย่ที่โรงพยาบาลเนื่องจากการรักษาพยาบาลที่บ้านมีความสะดวกสบาย และอบอุ่นจากการใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัวมากกว่าการรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากในกรณีที่เกิดเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน และมีอาการที่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจรักษาจริง ๆ จึงจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ดังนั้น การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านผู้ให้การพยาบาลควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน และรู้จักดัดแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตามสมควรและช่วยให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติเร็วยิ่งขึ้น
ข้อความปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นที่เป็นโรคติดต่อที่บ้าน

เมื่อเกิดกาารเจ็บป่วยขึ้นที่บ้าน ผู้ที่ทำหน้าที่ให้การพยาบาลควรปฏิบัติดังนี้
1. จัดผู้ป่วยให้นอนแยกห้อง ไม่ปะปนกับผู้อื่น
2. รักษาความสะอาด และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทั้งภายในและภายนอกบ้าน อาจปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การทำลายสิ่งปฏิกูลของผู้ป่วย เช่น อุจาระ ปัสสาวะ นำมูก นำลาย กระดาษเช็ดปาก เศษอาหาร เป็นต้น ควรทำลายโดยการเผาหรือใช้ยาฆ่าเชื้อโรค
2.2 การล้างมือ ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งด้วยสบู่ก่อนและหลังการพยาบาลผู้ป่วยและผู้พยาบาล เนื่องจากมือเป็นอวัยวะที่นำโรคได้เป็นอย่างดี
3. วัดปรอท จับชีพจร สังเกตการหายใจ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่เสมอ และสามาารถนำผลจากการสังเกตรายงานให้แพทย์ทราบ จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการผู้ป่วยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ข้อความคำนึงในการพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้น

ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล และหลังจากที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้วต้องพักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกตินั้น การพยาบาลพักฟื้นที่บ้านนับว่ามีความสำคัญยิ่ง ซึ่งผู้พยาบาลควรคำนึงในสิ่งต่อไปนี้
1. ความสุขสบายของผู้ป่วย ผู้พยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บปวดและไม่สบาย เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัตและกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ผู้พยาบาลอาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง การจัดท่าให้ผู้ป่วยอย่ในท่าที่สบาย เป็นต้น
2. สุขภาพจิตของผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรเข้าใจผู้ป่วยในด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมา เพราะอารมณ์ของผูป่วยอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น หงุดหงิดและโกรธง่าย เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตนมากเกิดไป และการแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ป่วย ซึ่งอาจไม่เป็นที่ยอมรับของตนและผู้อื่น ดังนั้นผู้พยาบาลไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่พอใจต่อผู้ป่วย
3. ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในตนเอง เช่น การแนะนำการปฏิบัติตนของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเอง การให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยพักฟื้น เป็นต้น
4. การออกกำลังกายและการพักผ่อน ควรแนะนำและช่วยเหลือผู้ป่วยออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือผู้ป่วยหลังผ่าตัตควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
5. อาหาร ควรแนะนำหรือจัดอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผู้ป่วยบางคนจะต้องกินอาหารเฉพาะแพทย์สั่ง เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ความดันโรหืตสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้พยาบาลควรให้กำลังใจและอภิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อได้รับควรร่วมมือจากผู้ป่วยเกี่ยวกับอาหาร