วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การเคหพยาบาล



การเคหพยาบาล หมายถึง การพยาบาลเบื้องต้นเพื่อช่วยเหลือตนเองและครอบครัวเมื่อมี การเจ็บป่วยหรือในระยะฟักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ได้รับความปลอดภัยและบรรเทาความทุกข์ทรมาน
ประโยชน์ของการเคหพยาบาล
1. ช่วยดูแลผู้ป่วยที่บ้านหลังจากแพทย์อนุญาตให้กลับมาฟักฟื้นที่บ้านได้ ซึ่งนับว่าเป็นการประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วย
2. ช่วยรักษาสุขภาพจิตของผู้ป่วยและของทุกคนในครอบครัว และลดความวิตกกังวลทางสภาพจิตใจเกี่ยวกับอาการของผู้ป่วยได้เพราะสมาชิกทุกคนในครอบครัวสามารถดูแลเอาใจใส่ผู้ป่วยได้อย่างใกล้ชิด
3. ลดอันตรายเนื่องจากอุบัติเหตุภายในบ้าน โดยการป้องกันอุบัติภัยที่อาจเกิดขึ้นและสามารถปฐมพยาบาลผู้ป่วยได้
4. ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยในโรงพยาบาลและผู้ป่วยที่รอคอยการรักษาให้มีจำนวนน้อยลง

การสังเกตอาการผู้ป่วยโดยทั่วไป
ผู้ที่พยาบาลผู้ป่วยในบ้านควรสนใจสุขภาพของทุกคนในครอบครัวฃองตน และเข้าใจอาการเปลี่ยนแปลงที่แสดงว่ามีการเจ็บป่วยขึ้น อาการที่เจ็บป่วยที่เกิดขึ้นแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค ดังนั้น ผู้ที่พยาบาลจะต้องระ จักสังเกตอาการของผู้ป่วยและสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้อย่างถูกต้อง ความผิดปกติที่จะสังเกตได้ มีดังนี้
1.             ใบหน้า อาการผิดปกติอาจเกิดขึ้นในลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

1.1 ใบหน้ามีลักษณะแดง ซีด ขาว
1.2 ตามีลักษณะแดง เหลือง น้ำตาไหล ซึม มัว ใสผิดปกติ มีอาการระคายเคืองต่อแสงสว่าง
1.3 จมูกมีน้ำมูกไหล เลือดออก เป็นแผล เจ็บ หายใจไม่ออก
1.4 หูมีน้ำเหลืองหรือน้ำหนองไหล ปวด บวม แดง
1.5 ปากแห้ง แตก ลิ้นเป็นฝ้า ไอเจ็บคอ ภายใต้คอแดงหรือเป็นฝ้า

2. หน้าอกมีอาการหายใจเหนื่อยหอบ หายใจขัด แรงเร็ว บางรายอาจถึงชัก หรือมีอาการปวดเจ็บภายในบริเวณอก


3. ท้อง มีอาการท้องขึ้น อืด เฟ้อ ท้องผูก ท้องเดิน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง เบื่ออาหาร


4. กล้ามเนื้อ มีอาการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่าง ๆ


5. ผิวหนัง มีอาการบวม แดง ซีด มีเม็ดหรือผื่นขึ้น ผิวหนังอาจร้อนหรือเย็นกว่าปกติ เมื่อเอามือไปสัมผัส


6. อารมณ์ มีอาการหงุดหงิด โมโหง่าย หากเป็นเด็กจะร้องกวนบ่อย


การพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นที่บ้าน
โดยทั่วไปบุคคลส่วนใหญ่เมื่อเกิดเจ็บป่วยเรื้อรังมักต้องการรักษาตัวที่บ้านมากกว่าไปอย่ที่โรงพยาบาลเนื่องจากการรักษาพยาบาลที่บ้านมีความสะดวกสบาย และอบอุ่นจากการใกล้ชิดกับสมาชิกในครอบครัวมากกว่าการรักษาตัวในโรงพยาบาล นอกจากในกรณีที่เกิดเจ็บป่วยอย่างกะทันหัน และมีอาการที่จำเป็นต้องให้แพทย์ตรวจรักษาจริง ๆ จึงจะเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ดังนั้น การพยาบาลผู้ป่วยที่บ้านผู้ให้การพยาบาลควรมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพยาบาลผู้ป่วยที่บ้าน และรู้จักดัดแปลงอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ภายในบ้านมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับความสุขสบายตามสมควรและช่วยให้ผู้ป่วยหายเป็นปกติเร็วยิ่งขึ้น
ข้อความปฏิบัติในการพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้นที่เป็นโรคติดต่อที่บ้าน

เมื่อเกิดกาารเจ็บป่วยขึ้นที่บ้าน ผู้ที่ทำหน้าที่ให้การพยาบาลควรปฏิบัติดังนี้
1. จัดผู้ป่วยให้นอนแยกห้อง ไม่ปะปนกับผู้อื่น
2. รักษาความสะอาด และป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค ทั้งภายในและภายนอกบ้าน อาจปฏิบัติได้ดังนี้
2.1 การทำลายสิ่งปฏิกูลของผู้ป่วย เช่น อุจาระ ปัสสาวะ นำมูก นำลาย กระดาษเช็ดปาก เศษอาหาร เป็นต้น ควรทำลายโดยการเผาหรือใช้ยาฆ่าเชื้อโรค
2.2 การล้างมือ ควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้งด้วยสบู่ก่อนและหลังการพยาบาลผู้ป่วยและผู้พยาบาล เนื่องจากมือเป็นอวัยวะที่นำโรคได้เป็นอย่างดี
3. วัดปรอท จับชีพจร สังเกตการหายใจ เพื่อทราบการเปลี่ยนแปลงของผู้ป่วยอยู่เสมอ และสามาารถนำผลจากการสังเกตรายงานให้แพทย์ทราบ จะช่วยให้แพทย์สามารถวินิจฉัยอาการผู้ป่วยได้ถูกต้องยิ่งขึ้น
ข้อความคำนึงในการพยาบาลผู้ป่วยพักฟื้น

ในกรณีที่สมาชิกในครอบครัวเกิดเจ็บป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาจากโรงพยาบาล และหลังจากที่ผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลแล้วต้องพักฟื้นที่บ้าน เพื่อให้ร่างกายกลับสู่สภาพปกตินั้น การพยาบาลพักฟื้นที่บ้านนับว่ามีความสำคัญยิ่ง ซึ่งผู้พยาบาลควรคำนึงในสิ่งต่อไปนี้
1. ความสุขสบายของผู้ป่วย ผู้พยาบาลช่วยเหลือผู้ป่วยพ้นจากความเจ็บปวดและไม่สบาย เช่น ผู้ป่วยหลังผ่าตัตและกลับมาพักฟื้นที่บ้าน ผู้พยาบาลอาจให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวดตามที่แพทย์สั่ง การจัดท่าให้ผู้ป่วยอย่ในท่าที่สบาย เป็นต้น
2. สุขภาพจิตของผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรเข้าใจผู้ป่วยในด้านอารมณ์และพฤติกรรมที่แสดงออกมา เพราะอารมณ์ของผูป่วยอาจเปลี่ยนแปลงได้ง่าย เช่น หงุดหงิดและโกรธง่าย เนื่องจากมีความวิตกกังวลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของตนมากเกิดไป และการแสดงพฤติกรรมบางอย่างของผู้ป่วย ซึ่งอาจไม่เป็นที่ยอมรับของตนและผู้อื่น ดังนั้นผู้พยาบาลไม่ควรแสดงกิริยาที่ไม่พอใจต่อผู้ป่วย
3. ให้ความมั่นใจแก่ผู้ป่วย ผู้พยาบาลควรช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจในตนเอง เช่น การแนะนำการปฏิบัติตนของผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถช่วยเหลือตนเอง การให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยพักฟื้น เป็นต้น
4. การออกกำลังกายและการพักผ่อน ควรแนะนำและช่วยเหลือผู้ป่วยออกกำลังกายและพักผ่อนอย่างเพียงพอ ไม่ควรให้ผู้ป่วยออกกำลังกายมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจหรือผู้ป่วยหลังผ่าตัตควรพักผ่อนอย่างเพียงพอ และการออกกำลังกายตามคำแนะนำของแพทย์
5. อาหาร ควรแนะนำหรือจัดอาหารที่มีประโยชน์และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ผู้ป่วยบางคนจะต้องกินอาหารเฉพาะแพทย์สั่ง เช่น ผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคไต ความดันโรหืตสูง เป็นต้น ดังนั้น ผู้พยาบาลควรให้กำลังใจและอภิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจ เพื่อได้รับควรร่วมมือจากผู้ป่วยเกี่ยวกับอาหาร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น