ประวัติความเป็นมาของจังหวะ
Jive
or Rock n Roll
ไจฟว์
เป็นจังหวะเต้นรำประเภทละตินอเมริกันที่มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ได้แก่ ลินดี้ (LINDY)
อเมริกัน สวิง (AMERICAN SWING) หรือ ร็อค (ROCK) และจิตเตอร์บัค (JITTER BUG) เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะรู้จักและเรียกจังหวะไจฟว์กันในนามว่า “ ร็อค ”หรือ “ ไจฟว์ร็อค ”จังหวะไจฟว์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่าจะมีรูปแบบดังที่ เห็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ กำเนิดของไจฟว์มีพัฒนาการมาจากจังหวัด จิตเตอร์บัค บูกี้ – วูกี้ (BOOGIE- WOOGIE) และแจ๊ส (JAZZ) โดยเริ่มในสมัยค้าทาสชาวนิโกรอัฟริกันในอเมริกาเหนือซึ่งมีหลายเผ่า ได้พยายามรวบรวมจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี การดนตรีการเต้นรำ และการรื่นเริงต่าง ๆ
ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในด้านการดนตรีนั้นได้มีการนำดนตรีดั้งเดิมของชาวนิโกรมาดัดแปลง
ให้เป็นจังหวะที่เร่งเร้า ระทึกใจ เรียกดนตรีประเภทใหม่นี้ว่า “ นิโกร แจ๊ส ”และดนตรีใหม่นี้ก็ได้รับ
ความนิยมแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแจ๊สนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นจังหวะบลูส์และวัน – สเต็ป
(BLUES AND ONE-STEP) และได้พัฒนามาเป็นจังหวะเต้นรำที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันว่า ฟอกซ์ทร็อต
อเมริกัน สวิง (AMERICAN SWING) หรือ ร็อค (ROCK) และจิตเตอร์บัค (JITTER BUG) เป็นต้น แต่ส่วนใหญ่แล้วคนไทยจะรู้จักและเรียกจังหวะไจฟว์กันในนามว่า “ ร็อค ”หรือ “ ไจฟว์ร็อค ”จังหวะไจฟว์มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลายาวนานกว่าจะมีรูปแบบดังที่ เห็นอยู่ในปัจจุบัน กล่าวคือ กำเนิดของไจฟว์มีพัฒนาการมาจากจังหวัด จิตเตอร์บัค บูกี้ – วูกี้ (BOOGIE- WOOGIE) และแจ๊ส (JAZZ) โดยเริ่มในสมัยค้าทาสชาวนิโกรอัฟริกันในอเมริกาเหนือซึ่งมีหลายเผ่า ได้พยายามรวบรวมจารีตและขนบธรรมเนียมประเพณี การดนตรีการเต้นรำ และการรื่นเริงต่าง ๆ
ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ในด้านการดนตรีนั้นได้มีการนำดนตรีดั้งเดิมของชาวนิโกรมาดัดแปลง
ให้เป็นจังหวะที่เร่งเร้า ระทึกใจ เรียกดนตรีประเภทใหม่นี้ว่า “ นิโกร แจ๊ส ”และดนตรีใหม่นี้ก็ได้รับ
ความนิยมแพร่หลายไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งแจ๊สนี้ต่อมาได้พัฒนาไปเป็นจังหวะบลูส์และวัน – สเต็ป
(BLUES AND ONE-STEP) และได้พัฒนามาเป็นจังหวะเต้นรำที่เรียกกันมาจนถึงปัจจุบันว่า ฟอกซ์ทร็อต
การเต้นรำในจังหวะที่แต่เดิมเรียกว่า
จิตเตอร์บัค ซึ่งหมายถึง แมลงเล็ก ๆ ที่มีอาการแตกตื่น ชุลมุน วุ่นวาย นั้นก็เนื่องจากท่วงทำนองเพลงที่เร้าระทึกใจ
ได้กระตุ้นให้เกิดความสนุกสนานครื้นเครงไปด้วยการเต้นจึงเต็มไปด้วยการสวิง
การเหวี่ยงโยน และปลดปล่อยอารมณ์อย่างเต็มที่ เมื่อมองดูแล้วจะเหมือนอาการ
ตื่นตระหนกของพวกแมลงเล็ก ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว ต่อมามิสเตอร์อเล็กซ์ มัวร์ (MR. ALEX MOORE) กับเมอร์ซิเออร์ปิแอร์ (MONSIEUR PIERRE) และมิสโจเซฟิน แบรดเลย์ (MISS JOSEPHINE BRADLEY)ได้ร่วมกันปรับปรุงการเต้นที่ไม่เรียบร้อย ให้ดูสุภาพเหมาะสม นุ่มนวลและสวยงาม ลีลาการเต้นถูกต้องตามหลักวิชาและลดความรุนแรง เร่งเร้าของการเต้นให้ลดน้อยลงจนในที่สุดได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของลีลาศมาตรฐานหนึ่งในห้าของการ ลีลาศแบบละตินอเมริกัน และเรียกชื่อจังหวะที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ว่า “ ไจฟว์ ”
ตื่นตระหนกของพวกแมลงเล็ก ๆ จึงเป็นที่มาของชื่อดังกล่าว ต่อมามิสเตอร์อเล็กซ์ มัวร์ (MR. ALEX MOORE) กับเมอร์ซิเออร์ปิแอร์ (MONSIEUR PIERRE) และมิสโจเซฟิน แบรดเลย์ (MISS JOSEPHINE BRADLEY)ได้ร่วมกันปรับปรุงการเต้นที่ไม่เรียบร้อย ให้ดูสุภาพเหมาะสม นุ่มนวลและสวยงาม ลีลาการเต้นถูกต้องตามหลักวิชาและลดความรุนแรง เร่งเร้าของการเต้นให้ลดน้อยลงจนในที่สุดได้รับการรับรองให้เป็นส่วนหนึ่งของลีลาศมาตรฐานหนึ่งในห้าของการ ลีลาศแบบละตินอเมริกัน และเรียกชื่อจังหวะที่ได้ปรับปรุงใหม่นี้ว่า “ ไจฟว์ ”
จากการปรับปรุงการเต้นดังกล่าวทำให้เกิดความแตกต่างในการเต้นออกเป็น3 รูปแบบ คือ
1.
BOOGIE-WOOGIE หรือ SINGLE RHYTHM หรือ
ร็อค 4
2. JITTERBUG หรือ DOUBLE RHYTHM หรือ
ร็อค 6
3. JIVE หรือ TRIPLE RHYTHM หรือ
ร็อค 8
ในปัจจุบันการเต้นไจฟว์แบบ TRIPLE RHYTHM หรือ
ร็อค 8 ได้รับความนิยมมากกว่าแบบอื่นทั้งยังได้รับการรับรองให้เป็นลีลาศมาตรฐานและ
จัดให้มีการแข่งขันอยู่เสมอ
ดนตรีและการนับจังหวะดนตรีของจังหวะไจฟว์เป็นแบบ 4/4 คือ มี 4จังหวะใน 1 ห้องเพลง
ดนตรีจะมีเสียงเน้นหนักในจังหวะที่ 2 และ 4 ซึ่งเราจะได้ยินเสียง แต๊ก ตุ่ม
แต๊ก ตุ่ม ดังอยู่ตลอดเพลง
การเต้นไจฟว์ในแบบ TRIPLE
RHYTHM มี 8 ก้าว การนับจังหวะจะเป็นแบบ 1,2,3-4-5,6-7-8 หรือ 1,2,3 และ 4,3 และ 4 หรือ เร็ว, เร็ว, เร็วและเร็ว, เร็วและเร็ว ก็ได้ โดยที่ก้าวที่ 1,2 และ 4 มีค่าเท่ากับก้าวละ 1 จังหวะ สำหรับก้าวที่ 3 มีค่าเท่ากับ 3/4 จังหวะส่วนก้าวที่เรียก “ และ ” มีค่าเท่ากับ 1/4 จังหวะ
ความเร็วช้าของจังหวะดนตรี
ดนตรีของจังหวะไจฟว์บรรเลงด้วยความเร็วมาตรฐาน 40 ห้องเพลงต่อนาที (30 – 50 ห้องเพลงต่อนาที)
การจับคู่
การจับคู่ในจังหวะไจฟว์จะเป็นแบบปิดของละตินอเมริกันโดยทั่วไป
แต่คอนข้างหลวมและจะพบการจับคู่แบบอื่น ๆเมื่อเต้นลวดลายต่าง ๆ
โดยเฉพาะการจับแบบเปิดจะพบบ่อยที่สุด การจับแบบเปิดคือการจับด้วยมือข้างเดียว ผู้ชายเอามือซ้ายจับมือขวาของผู้หญิงเอาไว้
ลำตัวยืนห่างกันในระยะที่ต่างคนต่างเหยียดแขนได้พองาม ส่วนมือข้างที่เป็นอิสระยกขึ้นไว้ข้าง
ๆ งอแขนเล็กน้อย
การนำ
การนำในการเต้นไจฟว์นั้นผู้ชายต้องใช้มือทั้งสองข้างช่วยในการนำคู่ลีลาศไป
ในทิศทางที่ต้องการ และผู้หญิงต้องตอบสนองต่อแรงผลักดันจากมือของผู้ชาย
เพื่อให้มีแรงส่งและแรงปะทะไว้บ้าง
มิฉะนั้นในบางลวดลายจะหมุนตัวไม่ได้เลย เช่น ลวดลายอเมริกัน สปิน เป็นต้น
มิฉะนั้นในบางลวดลายจะหมุนตัวไม่ได้เลย เช่น ลวดลายอเมริกัน สปิน เป็นต้น
การใช้เท้า
การก้าวเท้าในทุก
ๆ ก้าวจะให้ฝ่าเท้าถึงพื้นก่อน ส่วนส้นเท้ายกพ้นพื้นเล็กน้อย
บางก้าวก็มีการดส้นเท้าราบลง บางก้าวก็ไม่มีการราบเท้าลง
น้ำหนักตัวค่อนไปข้างหน้าเข่างอเล็กน้อยตามธรรมชาติ
การเคลื่อนไหวสะโพกก็เช่นเดียวกันต้องให้เป็นธรรมชาติโดยเฉพาะการทำแชสเซ่ไปข้างๆ
การทำแชสเซ่
แชสเซ่เป็นกลุ่มของการเต้นที่มี 3 ก้าว
ซึ่งอาจเป็นการเคลื่อนที่ไปข้างหน้า ข้างหลัง ทางซ้ายหรือทางขวาก็ได้ จะหมุนตัวไปทางซ้ายหรือทางขวาหรือไม่หมุนเลยก็ได้ ถ้าเป็นการทำแชสเซ่ไปข้างหน้า
โดยที่มีการไขว้และล็อค ขาข้างที่จะล็อคเข้ามานั้นจะต้องยกส้นเท้าพ้นพื้นและเข่าต้องชิดเท้าไปกับ
ข้อพับของเข่าอีกข้างหนึ่งถ้าเป็นการทำแชสเซ่ไปข้างหลัง โดยที่มีการไขว้และล็อค
ส้นเท้าของเท้าที่ถอยเป็นก้าวแรกจะต้องยกพ้นพื้น และเข่าของข้างที่ไขว้เข้ามาต้องชิดเข่าของขาหลัง
ลวดลายการเต้นของจังหวะไจฟว์ที่จัดอยู่ในขั้นมูลฐานและเป็นที่นิยมเต้นกันโดยทั่วไป
คือ
1. เบสิค
มูฟเม้นท์
2. เบสิค
มูฟเม้นท์ อิน ฟอลล์อะเวย์ (BASIC MOVEMENT
IN FALLAWAY)
3. ลิงค์
(LINK)
4. วิป
(WHIP)
5. เซนจ์
ออฟ เพลซ ไรท์ ทู เลฟท์ (CHANGE OF PLACES RIGHT TO LEFT)
6. เซนจ์
ออฟ เพลซ เลฟท์ ทู ไรท์ (CHANGE OF PLACES LEFT TO RIGHT)
7. เซนจ์
ออฟ แฮนด์ บีฮาย แบค (CHANGE OF HAND BEHIND BACK)
8. อเมริกัน
สปิน (AMERICAN S PIN)
9. สตอป แอนด์ โก (STOP AND
GO)
ตัวอย่าง
ตัวอย่างการแข่งขัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น